วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

                                                                            บันทึกอนุทิน

        วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน




                 วัน/เดือน/ปี      วันศุกร์ ที่ 5  กรกฎาคม  พ.ศ. 2556
 
                   ครั้งที่ี 1  เวลาเรียน 08.30-12.20 น. ห้อง233 อาคาร 2
 
       เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น .
 
         
 
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
 
วันนี้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
 
กลุ่มของดิฉันได้เรื่องในหัวข้อพัฒนาการทางสติปัญญาอายุ  2 - 4 ปี
 
ซึ่งกลุ่มของฉันได้นำเสนอออกมาในรูปแบบของละคร
 
 
ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการทางสติปัญญา
  ประกอบไปด้วย
1   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา
2   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
3   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของกาเย่
การจำแนกแยกแยะ (Discriminaitons) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุต่าง ๆที่รับรู้เข้ามาว่าเหมือนหรือไม่เหมือน
 
พัฒนาการทางสมองและการส่งเสริม
การเล่นก็ซับซ้อนยิ่งขึ้น การเต้น กระโดด ขว้างลูกบอล กระตุ้นสมองตั้งแต่ตรงกลางขึ้นไปที่เรียกว่า มิดเบรน (Mid brain) เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และทักษะการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับดนตรีจะพัฒนาได้ดีเมื่อลูกอายุได้ 3 ขวบ ลูกสามารถใช้สีเทียนลากเขียนเอียงเป็นมุมได้ดั่งใจ รู้จักใช้ไม้เขี่ยของเล่นที่หยิบไม่ถึง รวมทั้งจำได้ว่าของชิ้นไหนเป็นของใครด้วย

ลูกมีความเข้าใจในของใช้ชีวิตประจำวัน อย่างเช่น เปิดไฟเดินไปที่สวิชต์เพื่อเปิด เลียนแบบกิจวัตรของพ่อแม่ ชอบเล่นของเล่นที่เป็นชุดและมีการเรียงลำดับด้วย

การนำความรู้ไปใช้

  • ได้ความรู้ใหม่ๆกี่ยวกับการพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กในแต่ละช่วงวัยเพื่อเอาไว้ไปพัฒนาในการเรียนการสอนต่อไป
  • รู้จักรู้แบบการนำเสนอที่แต่ต่างกันไปซึ่งสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในโอกาสน่าได้
   








 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น