วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


   บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



            บันทึกอนุทิน


        วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน


                 วัน/เดือน/ปี        วันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556
 
                   ครั้งที่ี 1  เวลาเรียน 08.30-12.20 น. ห้อง233 อาคาร 2

                                เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20  น.
 
 
       ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
 
เรื่องความหมายของภาษา
 
 
       ภาษาหมายถึง     การสื่อความหมาย  ภาษาเป็นเครื่องมือการแสดงคสามคิดความรู้สึก
 
 
ความสำคัญของภาษา
  1. ภาษาเป็นเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
  2. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสาร
  3. ภาษาเป็นเครื่องมือใช้ในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดี
ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Piaget

      เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่าการที่เด็กมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา

กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนคือ

1.  การดูดซึม  Assimilation

     เป็นกระบวนการที่เด็กได้เรียนรู้และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง

2.  การปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ Accommodation

     เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่แล้วให้เข้ากับสิ่งเเวดล้อมเมื่อการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล Equilibrium กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง

  Piaget  แบ่งการพัฒนาการด้านสติปัญญา
  1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส  Sensorimotor Stage  แรกเกิด- 2 ปี
  2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล   Preoperational  Stage    2 - 4 ปี
  3. ขั้นการคิดรูปธรรม   7 - 11  ปี
  4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม  11 - 15 ปี
  สรุปได้ว่า 

      เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่า  พัฒนาการทางภาษาของเด็กเป็นไปพร้อม ๆ กับความสามารถด้านการให้เหตุผล การตัดสิน และด้านตรรกศาสตร์ เด็กต้องการสิ่งแวดล้อมที่ป็นตัวที่จะส่งเสริมให้เด็กสร้างกฎ ระบบเสียง ระบบคำ ระบบประโยค และความหมายของภาษา


การนำความรู้ไปใช้
  • ได้รู้จักความหมายและความสำคัญของภาษามากขึ้น
  • สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้เกี่ยวกับทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piagetไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่อๆไปได้







 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น