วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

                                                                          บันทึกอนุทิน

 
        วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน


                 วัน/เดือน/ปี      วันศุกร์ ที่  19 กรกฎาคม  พ.ศ. 2556
                   ครั้งที่ี 1  เวลาเรียน 08.30-12.20 น. ห้อง233 อาคาร 2
       เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้


แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


1  การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะภาษา  (Skill  Approch)

  •   ให้เด็กได้รู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
  •    การประสมคำ
  •    การแจกลูกสะกดคำ  การเขียน
    Kennrth  Goodman
  • เสนอแนวทางการสอนแบบธรรมชาติ
  • มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
  • แนวทางการสอนมีพื่นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
  
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
  • สนใจอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
  • ช่างสงสัย  ช่างซักถาม
  • มีความคิดสร้างสรรค์ และ จินตนาการ
  • ชอบเลียนแบบคนรอบข้าง
 2    การสอนภาษาแบบธรรมชาติ  (Whole  Langvage)
  • เด็กเรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์และจากการลงมือทำ
  • เด็กเรียนรู้จากกิจกรรมการเคลื่อนไหวของตนเองการได้สัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ

การสอนภาษาแบบธรรมชาติ

  • การสอนแบบบูรณาการ /  องค์รวม
  • สอนในสิ่งที่เด็กสนใจ
  • สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
  • สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่านเขียนไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
  • ไม่เข้มงวดกับการท่อง การเขียน การสะกด
 
หลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

  1. การจัดสภาพแวดล้อม
  2. การสื่อสารที่มีความหมาย
  3. การเป็นแบบอย่าง
  4. การตั้งความคาดหวัง
  5. การคาดคะเน
  6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
  7. การยอมรับนับถือ
  8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น

   บทบาทครู
  • ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้
  • ผู้อำนวยความสะดวก
  • ผู้ร่วมทางการเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก

กิจกรรมหลังเรียน

  • อ่านข้อความประกอบรูป
  • ร้องเพลงแปรงฟัน
  • ร้องเพลงตา จมูก หู
  • ท่องแก้ว กะลา ขัน โอ่ง

การนำความรู้ไปใช้

  • ในการเรียนครั้งนี้ได้รู้ถึงบทบาทหน้าที่ครูว่าครูไม่ใช้แค่ทำหน้าที่สอนเพียงอย่างเดียวแต่ครูยังต้องคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ
  • ความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการออกฝึกสอนได้หลากหลาย








บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

                                                                           บันทึกอนุทิน

 

        วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน



                 วัน/เดือน/ปี      วันศุกร์ ที่  12 กรกฎาคม  พ.ศ. 2556
                   ครั้งที่ี 1  เวลาเรียน 08.30-12.20 น. ห้อง233 อาคาร 2
       เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.40 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
   



  องค์ประกอบของภาษา
   กิจกรรมก่อนเรียน
  • อาจารย์ให้กระดาษมา1แผ่นวาดรูปสิ่งของที่เรารักและชอบตั้งตั้งเด็กๆพร้อมออกมาบรรยาย

หมอนใบนี้แม่ซื้อให้ตั้งแต่เด็กๆรักและติดมากพอขึ้นป.6แม่เลยยึดเก็บใส่กล่องเพราะโตแล้วจนตอนนี้หายไปกลับน้ำท่วมแล้วค่ะ



 
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้


องค์ประกอบของภาษา

  1. Phonology  คือระบบเสียงของภาษาเสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
  2. Semantic    คือความหมายของภาษาและคำศัพท์ที่มีความหมายหลากหลายหรือเหมือนกัน
  3. Syntax       คือระบบไวยากรณ์การเรียงรูปประโยค
  4. Pragmatic  คือระบบการนำไปใช้ภาษาให้ถูกตามสถานการณ์และกาลเทศะ

นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า

  • ภาษาเป็นกระบวนการภายในมนุษย์
  • เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
  • เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น
ภาษาในการจัดประสบการณ์แบ่งได้เป็น3กลุ่มดังนี้
  1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
  2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
  3. มุมมองด้านปฎิสัมพันธ์
แนวคิดนักการศึกษา  (พฤติกรรมแนวนิยม)


                       
                                               Skinner







                                         John B. Watson


แนวคิดกลุ่มพัฒนาสติปัญญา


    
                                               Piaget





                                           
                                            Vygotsky


 แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย



                    
                                                                                  Arnold gesell


แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด 



noam chomsky



สรุป
           
     เด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษา จากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อน เพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐานทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยกรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ









วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

                                                                            บันทึกอนุทิน

        วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน




                 วัน/เดือน/ปี      วันศุกร์ ที่ 5  กรกฎาคม  พ.ศ. 2556
 
                   ครั้งที่ี 1  เวลาเรียน 08.30-12.20 น. ห้อง233 อาคาร 2
 
       เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น .
 
         
 
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
 
วันนี้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
 
กลุ่มของดิฉันได้เรื่องในหัวข้อพัฒนาการทางสติปัญญาอายุ  2 - 4 ปี
 
ซึ่งกลุ่มของฉันได้นำเสนอออกมาในรูปแบบของละคร
 
 
ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการทางสติปัญญา
  ประกอบไปด้วย
1   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา
2   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
3   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของกาเย่
การจำแนกแยกแยะ (Discriminaitons) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุต่าง ๆที่รับรู้เข้ามาว่าเหมือนหรือไม่เหมือน
 
พัฒนาการทางสมองและการส่งเสริม
การเล่นก็ซับซ้อนยิ่งขึ้น การเต้น กระโดด ขว้างลูกบอล กระตุ้นสมองตั้งแต่ตรงกลางขึ้นไปที่เรียกว่า มิดเบรน (Mid brain) เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และทักษะการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับดนตรีจะพัฒนาได้ดีเมื่อลูกอายุได้ 3 ขวบ ลูกสามารถใช้สีเทียนลากเขียนเอียงเป็นมุมได้ดั่งใจ รู้จักใช้ไม้เขี่ยของเล่นที่หยิบไม่ถึง รวมทั้งจำได้ว่าของชิ้นไหนเป็นของใครด้วย

ลูกมีความเข้าใจในของใช้ชีวิตประจำวัน อย่างเช่น เปิดไฟเดินไปที่สวิชต์เพื่อเปิด เลียนแบบกิจวัตรของพ่อแม่ ชอบเล่นของเล่นที่เป็นชุดและมีการเรียงลำดับด้วย

การนำความรู้ไปใช้

  • ได้ความรู้ใหม่ๆกี่ยวกับการพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กในแต่ละช่วงวัยเพื่อเอาไว้ไปพัฒนาในการเรียนการสอนต่อไป
  • รู้จักรู้แบบการนำเสนอที่แต่ต่างกันไปซึ่งสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในโอกาสน่าได้
   








 
 
 

  
บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

                                                                             บันทึกอนุทิน

        วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน



                 วัน/เดือน/ปี      วันศุกร์ ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556
 
                   ครั้งที่ี 1  เวลาเรียน 08.30-12.20 น. ห้อง233 อาคาร 2
 
 
ในวันนี้มีการหยุดการเรียนกาสอน เพราะ มีกิจกรรมรับน้องใหญ่ของทางมหาวิทยาลัย




















   บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



            บันทึกอนุทิน


        วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน


                 วัน/เดือน/ปี        วันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556
 
                   ครั้งที่ี 1  เวลาเรียน 08.30-12.20 น. ห้อง233 อาคาร 2

                                เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20  น.
 
 
       ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
 
เรื่องความหมายของภาษา
 
 
       ภาษาหมายถึง     การสื่อความหมาย  ภาษาเป็นเครื่องมือการแสดงคสามคิดความรู้สึก
 
 
ความสำคัญของภาษา
  1. ภาษาเป็นเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
  2. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสาร
  3. ภาษาเป็นเครื่องมือใช้ในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดี
ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Piaget

      เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่าการที่เด็กมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา

กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนคือ

1.  การดูดซึม  Assimilation

     เป็นกระบวนการที่เด็กได้เรียนรู้และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง

2.  การปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ Accommodation

     เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่แล้วให้เข้ากับสิ่งเเวดล้อมเมื่อการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล Equilibrium กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง

  Piaget  แบ่งการพัฒนาการด้านสติปัญญา
  1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส  Sensorimotor Stage  แรกเกิด- 2 ปี
  2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล   Preoperational  Stage    2 - 4 ปี
  3. ขั้นการคิดรูปธรรม   7 - 11  ปี
  4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม  11 - 15 ปี
  สรุปได้ว่า 

      เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่า  พัฒนาการทางภาษาของเด็กเป็นไปพร้อม ๆ กับความสามารถด้านการให้เหตุผล การตัดสิน และด้านตรรกศาสตร์ เด็กต้องการสิ่งแวดล้อมที่ป็นตัวที่จะส่งเสริมให้เด็กสร้างกฎ ระบบเสียง ระบบคำ ระบบประโยค และความหมายของภาษา


การนำความรู้ไปใช้
  • ได้รู้จักความหมายและความสำคัญของภาษามากขึ้น
  • สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้เกี่ยวกับทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piagetไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่อๆไปได้







 
 

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


        บันทึกอนุทินครั้งที่1


บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน


                 วัน/เดือน/ปี  วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

                                            ครั้งที่ี 1  เวลาเรียน 08.30-12.20 น. ห้อง233 อาคาร2

               เวลาเข้าสอน  08.30 น.  เวลาเข้าสอน  08.45 น.   เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

-  ได้เรียนรู้้การใฃ้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
-   ได้เรียนรู้ว่าการใช้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีความแตกต่างกันออกไปของแต่ละบุคคล
-    ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

การนำความรู้ไปใช้

-  รู้วิธีการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกวิธี




 
                           (Mind Map  การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย)